หลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

หลักสูตรที่ 1

จิตสำนึกความปลอดภัย

Safety Mind and Safety Awareness

 

ความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลากรทุกคนต้องให้ความสนใจและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานต่างๆ ที่ตระหนักถึงความปลอดภัย ปฏิบัติงานอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียร่างกายและทรัพย์สิน 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อกระตุ้นและสร้างทัศนคติของบุคลากรให้ตระหนักถึงความปลอดภัย และความสูญเสีย รวมถึงผลกระทบต่างๆ อันเกิดจากอุบัติเหตุจากการทำงาน
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำความรู้และกระบวนการจากการอบรมไปประยุกต์หรือปรับใช้จริงในการทำงานของตนเอง 

หัวข้อการอบรม

  • พื้นฐานความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
  • สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
  • ผลกระทบและความสูญเสียจากอุบัติเหตุ
  • เทคนิคการทำอุบัติเหตุให้ป็นศูนย์
  • ทำกิจกรรมเดี่ยวและกลุ่ม       

               *ปลุกพลัง สร้างทัศนคติและจิตสำนึกด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

               *เหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการทำงาน วิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางป้องกันแก้ไข

 

ระยะเวลาในการอบรม

เวลา 09.00-16.00 น. (1 วัน)

 

............................................ 

 หลักสูตรที่ 2

การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย

Behavior-based safety (BBS)

หลักการและเหตุผล

การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย Behavior-based safety (BBS) เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ว่าสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บได้เป็นอย่างดี เนื่องจากให้ความสำคัญในเรื่องของการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) และช่วยสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร เมื่อพนักงานทุกคน ทุกระดับเข้าใจหลักการของ Behavior-based safety (BBS) และนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

 

Behavior-based safety (BBS) คือ การจัดการพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อสร้างพฤติกรรมที่ปลอดภัย ไม่ต้องการให้พนักงานคนใดคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย โดยใช้การร่วมกันทำกิจกรรมสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมความปลอดภัย เพื่อควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเป็นการกระทำที่ปลอดภัย ซึ่งอาศัยความร่วมมือของพนักงานทุกคน ทุกระดับ และต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

 

ดังนั้นหลักสูตร การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย Behavior-based safety (BBS) นี้ออกแบบมาเพื่อให้หัวหน้างานหรือผู้นำเกิดความเข้าใจเรื่อง BBS อย่างถ่องแท้ กระบวนการนำไปใช้ และการแก้ปัญหา พร้อมการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า BBS ไม่ใช่เพียงแค่การทำการสังเกต (OBSERVATION) เท่านั้น แต่เป็นการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ทราบถึงหลักการของ BBS ความสำคัญ และการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ                  
  • เพื่อให้ทราบเทคนิคในการสื่อสาร การจูงใจ ให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัย                          
  • เพื่อให้ทราบเทคนิคการสังเกตอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการเกิดพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยซ้ำ
  • เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ที่เกิดจากทัศนคติความปลอดภัย และจิตสำนึกที่ดีของสมาชิกในองค์กร อันเป็นหัวใจหลักของการวางรากฐานของพฤติกรรมความปลอดภัย

เนื้อหา

  • ความหมายของ BBS/ทำไมต้อง BBS/พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นได้อย่างไร               
  • การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย                                             
  • เทคนิคการสื่อสารและจูงใจ                                                
  • เทคนิคการสังเกต และควบคุมพฤติกรรมไม่ปลอดภัยและการแก้ปัญหา                                    
  • การนำ BBS ไปใช้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง                                              
  • กิจกรรมและทดลองฝึกปฏิบัติ

ระยะเวลาการอบรม       

เวลา 09.00 -16.00 น. (1 วัน)

 

............................................  

 

หลักสูตรที่ 3

การอนุรักษ์การได้ยิน

Hearing Conservation Program

 

การอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ เป็นการแก้ไขปัญหาเสียงดังและลดอันตราย ลดผลกระทบที่จะมีต่อพนักงาน โดยจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานประกอบการ ด้วยมาตรการควบคุมเสียงที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบในการทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน และมาตรการควบคุมเสียงดัง ต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน เพื่อนำเนื้อหาและรายละเอียดไปจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ตามที่กฎหมายกำหนด
  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินได้อย่างถูกวิธี
  • ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำมาตรการป้องกันอันตรายเกี่ยวกับเสียงที่เหมาะสมไปใช้เพื่อลดผลกระทบของเสียงได้

หัวข้อการอบรม

  • กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  • ความรู้เกี่ยวกับเสียง กายวิภาคศาสตร์ของหู และกลไกการได้ยิน
  • หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
  • องค์ประกอบหลักของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
  • การจัดนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน และกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบการเฝ้าระวังการได้ยิน
  • การทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric Testing)
  • เกณฑ์การพิจารณาผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน
  • มาตรการป้องกันอันตรายตามกฎหมายกรณีผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินพบว่าลูกจ้างสูญเสียการได้ยิน
  • ตัวอย่างโครงการอนุรักษ์การได้ยิน และแบบบันทึกผลการตรวจสอบ ต่างๆ
  • การเฝ้าระวังเสียงดัง
  • การสำรวจและตรวจวัดระดับเสียง
  • การประเมินการสัมผัสเสียงดัง
  • หลักการควบคุมเสียงดัง
  • มาตรการด้านวิศวกรรมในการจัดการเกี่ยวกับเสียง

ระยะเวลาในการอบรม

เวลา 09.00-16.00 น. (1 วัน)

 

............................................ 

 

หลักสูตรที่ 4

5 ส. สำหรับช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย

5 S for Safety

 

สภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงานที่ดีสร้างได้ด้วยการร่วมมือกัน” การจะทำให้กิจกรรม 5 ส. ประสบความสำเร็จ ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกๆ คนในองค์กร โดยทุกคนต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรม 5 ส. และต้องทราบแนวทางที่ถูกวิธีที่จะทำให้สภาพแวดล้อม และบรรยากาศในการทำงานเหมาะสม เอื้อต่อการเกิดความปลอดภัยในการทำงาน ความปลอดภัยเกี่ยวข้องกับการกำจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น ความรกรุงรัง ไม่เป็นระเบียบของการจัดเก็บวัสดุสิ่งของ, เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายในส่วนที่เคลื่อนไหว, ระบบไฟฟ้าชำรุดบกพร่อง, แสงสว่างไม่เพียงพอ, เสียงดัง, ฝุ่นละอองสารเคมีเป็นพิษ เป็นต้น และการกำจัดการกระทำที่ไม่ปลอดภัย เช่น ทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในการปฏิบัติงาน โดยขาดความรู้ความชำนาญ ประมาท ละเลยกฎระเบียบ เป็นต้น ดังนั้น การทำกิจกรรม 5ส. จึงเป็นการสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน (Good house Keeping and Layout) และทำให้ทุกๆ คนในองค์กรมีนิสัยรักความสะอาด เป็นคนมีระเบียบวินัย แสดงถึงการเป็นผู้มีจิตสำนึก และทัศนคติที่ดีต่อความปลอดภัย

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการทำ 5 ส. และทราบถึงความสำคัญของการทำ 5 ส. เพื่อช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย
  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจถึงเทคนิคการดำเนินกิจกรรม 5 ส.ได้อย่างถูกต้อง 
  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำกิจกรรม 5 ส. ไปปรับใช้ในหน่วยงาน สำหรับปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน
  • เพื่อเสริมสร้างให้องค์กรมีบรรยากาศในการทำงานที่ดี
  • เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและทำให้ทุกคนมีส่วมร่วมในการทำ 5ส

หัวข้อการอบรม

  • รู้จัก 5 ส. (ความหมาย 5 ส., 5 ส. ประกอบด้วยอะไร)
  •  ขั้นตอนเกี่ยวกับการทํากิจกรรม 5 ส.
  • การจัดทำเอกสารระบบ 5 ส. และการจัดทำมาตรฐาน 5 ส.
  • แนวทางในการตรวจประเมินกิจกรรม 5 ส.
  • การนํากิจกรรม 5 ส. ไปประยุกต์ใช้กับส่วนงาน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม และบรรยากาศในการทำงานที่ดี

ระยะเวลาในการอบรม

เวลา 09.00-16.00 น. (1 วัน)

 

............................................ 

 

หลักสูตรที่ 5

สารเคมีอันตรายและการระงับเหตุสารเคมีรั่วไหล

Chemical Hazard and Spill management

หลักการและเหตุผล

      ในการทำงานกับสารเคมีอันตราย ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีจะต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติพื้นฐานของสารเคมีอันตรายในแต่ละประเภทที่มีการใช้งาน และทราบถึงการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากสารเคมีนั้น อันเป็นผลมาจากวิธีการจัดเก็บ วิธีการขนย้าย และวิธีการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้องตามหลักความปลอดภัย  ดังนั้นทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานสารเคมีจะต้องมีความรู้ในเรื่อง SDS ของสารเคมี การจัดเก็บ การขนย้าย และการตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินสารเคมีหกรั่วไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการบริหารจัดการสารเคมีอันตรายในสถานประกอบการ

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงอันตรายของสารเคมีอันตรายและป้ายสัญลักษณ์ในการชี้บ่งสารเคมีอันตราย
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงวิธีการจัดเก็บและขนย้ายสารอันตราย
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินจากสารเคมีหกรั่วไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการอบรม

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารอันตราย
  • ป้ายเตือนและฉลากที่ใช้ในการชี้บ่งสารเคมีอันตราย
  • การใช้ข้อมูลความปลอดภัยทางสารเคมี  (MSDS)
  • ข้อกำหนดในการขนย้ายและวิธีจัดเก็บสารอันตราย
  • ข้อกำหนดของสถานที่จัดเก็บ
  • ลักษณะของอาคารที่จัดเก็บ
  • วิธีการจัดเก็บแยกตามประเภทสารเคมี
  • การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงานสัมผัสกับสารเคมีอันตราย
  • การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและการควบคุมการหกรั่วไหลของสารเคมี
  • ฝึกปฎิบัติควบคุม/การจัดการเมื่อเกิดเหตุสารเคมีอันตรายหกรั่วไหล

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงความสำคัญของ SDS และสามารถใช้ข้อมูล SDS
  • เมื่อต้องปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายได้อย่างถูกต้อง
  • ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความสำคัญของการจัดเก็บและขนย้ายสารอันตรายอย่างมีระบบและเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย
  • ผู้เข้าอบรมสามารถโต้ตอบเหตุการณ์ฉุกเฉิน กรณีสารเคมีรั่วไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

วิธีการอบรม

• บรรยาย , Case Study และฝึกปฎิบัติ

ระยะเวลาการอบรม

เวลา 09.00 – 16.00 น. (1 วัน)

 

............................................ 

 

หลักสูตรที่ 6

การหยั่งรู้อันตรายเพื่อสร้างความปลอดภัยด้วย KYT

Kiken Yochi Training

หลักการและเหตุผล

            การป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน สามารถทำได้ 3 รูปแบบ คือ การจัดการที่แหล่งกำเนิด การจัดการที่ทางผ่าน และ การจัดการที่ตัวบุคคล ซึ่งการจัดการในเชิงป้องกันที่ดีที่สุด คือ การจัดการที่แหล่งกำเนิด แต่เนื่องจากในการทำงานของพนักงานมีโอกาสเกิดอันตรายจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยด้วย ดังนั้น การทำให้พนักงานมีความตระหนักถึงอันตรายต่างๆ จากงานที่ทำ และการเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน จึงเป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนควรปฏิบัติ

            การหยั่งรู้อันตรายเพื่อสร้างความปลอดภัย ด้วย KYT (Kiken Yochi Training , KYT) เป็นกิจกรรมที่จะทำให้พนักงานทุกคนได้กำหนดเป้าหมายเพื่อเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานจากการค้นหาอันตราย หาสาเหตุของอันตราย และหาแนวทางแก้ไข ด้วยการระดมสมองเพื่อแสดงความคิดเห็นในการป้องกันอุบัติเหตุในสถานที่ปฏิบัติงาน  เพื่อไปสู่การทำงานที่ปลอดภัยร่วมกัน ด้วยวิธี มือชี้-ปากย้ำ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจความหมาย และหลักการของเทคนิค เค วาย ที ได้อย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถค้นหาอันตรายพร้อมทั้งหาสาเหตุและแนวทางการป้องกันได้อย่างเหมาะสม
  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อความปลอดภัย  (KYT มือชี้-ปากย้ำ)

กลุ่มเป้าหมาย

พนักงานทุกคนในสถานประกอบการ

หัวข้อการฝึกอบรม

  • ที่มา ความหมาย ความสำคัญของกิจกรรม KYT (K – Kiken, Y – Yochi, T - Training)
  • แนวทางการค้นหาอันตราย สาเหตุ และหลักการป้องกันแก้ไข
  • ประเภทของ KYT ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน ( KYT 4 ยก (4 Rounds KYT),  KYT จุดเดียว (One Point KYT), KYT ปากเปล่า (Oral KYT))
  • ฝึกปฏิบัติการค้นหาอันตราย สาเหตุ และหลักการป้องกันแก้ไข ด้วยมือชี้-ปากย้ำ

รูปแบบการฝึกอบรม

บรรยาย และ Workshop กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติ

ระยะเวลาการฝึกอบรม

1 วัน (9.00-16.00 น.) 

...........................................................................

 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ


  • หลักสูตร "ทักษะการโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพ ภายในตนเองและการสื่อสาร เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี Change Inside You to Change Your Life" รู้ทันความคิด รู้ทันอารมณ์ เพื่อกำหนดพฤติกรรมในก...
Visitors: 5,166